บทความ

มิโซะชิรุ(Miso Shiru)

รูปภาพ
มิโซะชิรุ(Miso Shiru)   มิโซะชิรุ(MisoShiru)หรือซุปเต้าเจี้ยวโดยที่ มิโซะเป็นส่วนประกอบหลัก มิโซะได้มาจากการแปรรูปอย่างหนึ่งของถั่วเหลืองโดยใช้วิธีการหมัก ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานและคุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยน มีคุณค่าทางโภชนาการและโปรตีนสูง  มีรสชาติคล้ายสารสกัดจากเนื้อสัตว์ จึงใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารสำหรับคนที่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์เป็นอย่างดี  มิโซะ ยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 17 ชนิด มีสารชูรสและกลิ่นหอม สารที่ว่านี้ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่างการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด ซึ่งนอกจากจะทำให้อาหารได้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย วัตถุดิบ คะสึโอะบุชิหรือปลาโอแห้งขูดฝอย  น้ำ  มันฝรั่ง  หอมใหญ่  ต้นหอมเล็กเขียว  มิโซะหรือเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น  วิธีทำ แรกสุด ไสท่อนคะสึโอะบุชิด้วยกล่องไส พันท่อนคะสึโอะบุชิด้วยผ้าขนหนูอุ่น ๆ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที วางกล่องไสโดยให้คมมีดหันเข้าหาตัวเอง จับท่อนคะสึโอะบุชิโดยให้ด้านที่เว้าคอดหันเข้าหาตัวเองแล้วไสออกนอกตัว หากหาท่อนคะสึโอะบุชิไม่ได้ ก็ใช้คะสึโอ

ยากิโซบะ(Yakisoba)

รูปภาพ
ยากิโซบะ(Yakisoba)   ยากิโซบะ(Yakisoba) เป็นอาหารญี่ปุ่นที่เรารู้จักกันดีอย่างหนึ่ง  มีประวัติค่อนข้างสั้นโดยที่ยังมีอายุอยู่ที่ราว 100 กว่าปี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 (นช่วงแรกๆ คนญี่ปุ่นมองว่ายากิโซบะ เป็นอาหารต่างชาติเพราะวัตถุดิบหลักๆ นั้นนำเข้ามาจากต่างชาติซึ่งได้แก่ เส้นบะหมี่และซอส  แม้วัตถุดิบจะเป็นของที่มาจากต่างประเทศ แต่ขึ้นชื่อว่าคนญี่ปุ่นแล้วเขาก็มีการดัดแปลงวัตถุดิบให้มีลักษณะเฉพาะของพวกเขา อย่างเช่น ซอสเปรี้ยววู้ดเชสเตอร์เชียร์ ก็มีผู้เริ่มผลิตเองในประเทศและปรับปรุงซอสให้มีความหวานมากขึ้นโดยผสมพวกผลไม้อย่างแอปเปิ้ลลงไป วัตถุดิบ ส่วนประกอบหลัก เส้นบะหมี่ยากิโซบะ  หมู  แครอท  เห็ด กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่  เกลือแกง  พริกไทย  น้ำมันพืช  น้ำเปล่า  ผงสาหร่ายอาโอโนริ ซอสยากิโซะ เกลือแกง  พริกไทย  เหล้าสาเก  ซอสทงคัตทสึ  ซอสอุสุตา  มายองเนสญี่ปุ่น  วิธีทำ ใส่ส่วนผสมซอสยากิโซบะในถ้วย แล้วคนให้เข้ากัน  ใส่น้ำมันพืชกับหมูลงในกระทะ ผัดพอสุก  ใส่แครอท หรือผักสุกยาก ลงไปผัดพอสุก . ใส่ผักที่เหลือลงไป ผัดพอผักสลด . ปรุงรสด้วยเกลือ ¼ ช้อนชา และพ

อาจิ ฟุระอิ(Aji Furaei)

รูปภาพ
อาจิ ฟุระอิ(Aji Furaei)   อะจิเป็นปลาที่หารับประทานได้ทั่วไปในญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นในฤดูกาลใดจึงเป็นหนึ่งในบรรดาปลาที่คนญี่ปุ่นคุ้นเคยกันมาก ปลาอะจิเป็นปลารสอร่อยไม่ว่าจะนำมาทำอาหารด้วยวิธีใด สมกับคำกล่าวที่ว่า "อะจิ" ซึ่งเป็นชื่อของปลานั้นมาจากคำว่า "อะจิ" ในภาษาญี่ปุ่นซึ่งแปลว่ารสชาติ วัตถุดิบ ปลาอะจิ ไข่  แป้งสาลี  เกล็ดขนมปัง  เกลือและพริกไทย  กะหล่ำปลีใบใหญ่  น้ำมันพืช วิธีทำ แล่เกล็ดแข็ง ๆ ที่เป็นแนวยาวอยู่บนลำตัวปลาอะจิทั้งสองด้านตรงที่ใกล้กับหางออก ตัดครีบและหัวทิ้งไป ใช้ด้ามช้อนดึงไส้และพุงปลาออกมาทางรอยตัดหัวและครีบ ล้างปลาทั้งด้านในและด้านนอกให้หมดจด แล้วใช้กระดาษสำหรับใช้ในครัวซับน้ำให้แห้ง วางปลาอะจิให้ครีบสันหลังของปลาอยู่ด้านหน้า ส่วนหัวอยู่ทางขวาและหางอยู่ทางซ้าย จับมีดให้ใบมีดอยู่ในแนวนอนขนานกับเขียง จรดคมมีดลงบนครีบสันหลังแล้วแล่ตามแนวครีบจนถึงโคนหาง แล่ลึกเข้าไปเรื่อย ๆ บนแนวก้างกลางตัวให้รู้สึกว่าคมมีดกระทบก้าง แล่ไปมาหลายครั้ง เนื้อปลาจะค่อย ๆ แผ่กว้างออก เวลาแล่ระวังอย่าแล่ลึกเข้าไปจนตัดหนังส่วนท้องของปลาขาด ต้องแ

ชิกินนัมบัง(Chicken Numbun)

รูปภาพ
ชิกินนัมบัง(Chicken Numbun)    ชิกิน นัมบังคืออาหารของจังหวัดมิยาซากิ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น จังหวัดมิยาซากิเป็นแห่งแรกที่เป็นต้นคิดทำชิกิน นัมบัง คือมีร้านอาหารฝรั่งร้านหนึ่งในจังหวัดมิยาซากิทำอาหารจานนี้ขึ้นมาและจากนั้นก็เป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่ว วัตถุดิบ ไก่ส่วนน่อง 400 กรัม ไข่ดิบ 2 ฟอง ผักกาดแก้ว แตงกวา มะเขือเทศ พอประมาณ เกลือ พริกไทยเล็กน้อย แป้งสาลี พอประมาณ น้ำมันพืชสำหรับทอดไก่ พอประมาณ ซอสทาร์ทาร์ มายองเนส 100 มิลลิลิตร ไข่ต้ม 1 ฟอง หอมหัวใหญ่ 40 กรัม ซอสปรุงรส โชยุหรือซีอิ๊วญี่ปุ่น 3 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะครึ่ง วิธีทำ (ซอสทาร์ทาร์) ปอกเปลือกไข่ต้มหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมประมาณ 5 มิลลิเมตร หั่นหอมหัวใหญ่เป็นชิ้นละเอียด ใส่ไข่ต้ม หอมหัวใหญ่และมายองเนสลงในชาม แล้วผสมให้เข้ากัน  (ซอสปรุงรส) ผสมโชยุหรือซีอิ๊วญี่ปุ่น น้ำส้มสายชู และ น้ำตาลเข้าด้วยกัน ใส่ถาดเอาไว้ วางชิ้นไก่ลงบนเขียงโดยให้ส่วนหนังอยู่ด้านล่างติดกับเขียง สำหรับส่วนของชิ้นไก่ที่มีเนื้อหนาขึ้นมา ให้เอาใบมีดวางราบลงไปแล่เนื้อส่วนนั้นให้แ

เมล่อนปัง(Melonpan)

รูปภาพ
เมล่อนปัง(Melonpan)  เมล่อนปัง(Melonpan) มีประวัติ ไม่แน่ชัด เพราะว่าพบขนมปังที่มีลักษณะคล้ายกันในหลายๆ ชื่อ บางภูมิภาคเจ้าขนมนี้ก็มีชื่อว่า ซันไรส์ จากลักษณะพองฟูแล้วแตกออกเหมือนพระอาทิตย์ขึ้น อย่างไรก็ตาม เมลอนปังนั้นน่าจะมีในญี่ปุ่นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ปี วัตถุดิบ ตัวแป้งขนมปัง แป้งทำขนมปัง   150 กรัม ยีสต์แห้ง   1 ช้อนชา  น้ำตาลทราย   2 ช้อนโต๊ะ  น้ำ   80 มิลลิลิตร ไข่ตีจนเข้ากัน   1 ช้อนโต๊ะ เกลือ  1/4 ช้อนชา เนย   10 กรัม ตัวแป้งคุกกี้  แป้งทำเค้ก   100 กรัม ผงฟู   1/4  ช้อนชา ผิวมะนาวเมลอนขูด  1/2 ลูก เนย   40 กรัม ไข่แดง   1 ฟอง นมหรือน้ำ   1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย   3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทรายเม็ดหยาบ พอประมาณ วิธีทำ เริ่มทำตัวแป้งขนมปัง ผสมน้ำให้เข้ากับยีสต์แห้งในชามอ่าง เติมไข่ที่ตีเข้ากันแล้ว น้ำตาลทราย แป้งทำขนมปังและเกลือลงไปผสม จัดให้ส่วนผสมของตัวแป้งรวมตัวกันเป็นก้อน นำตัวแป้งจากชามอ่างมาวางบนพื้นกระดานหรือโต๊ะ นวดจนตัวแป้งนุ่มขึ้น จากนั้นยกตัวแป้งขึ้นเหวี่ยงลงไปกระแทกบนกระดานหรือโต๊ะ และนวดสลับกันไปอีกประมาณ 10 นาที วางเนยก้อนเล็ก ๆ กระ

อันปัง(Aupan)

รูปภาพ
อันปัง(Aupan)   อันปัง(Aupan) หรือ ขนมปังถั่วแดง เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1874 โดยช่างทำขนมชื่อ คิมุระ ยาสุเบย์ แห่งร้านคิมุระยะในย่านกินซ่า ร้านขนมปังที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น เขาเอาถั่วแดงซึ่งเป็นหัวใจหลักของขนมญี่ปุ่นมาทำเป็นไส้ของขนมปัง เพื่อให้คนญี่ปุ่นลองเปิดใจได้ง่ายขึ้น และมันก็ประสบผลสำเร็จอย่างสวยงาม ถึงขั้นได้นำขึ้นถวายให้พระจักรพรรดิในสมัยนั้นได้ลองชิมด้วย วัตถุดิบ แป้งสาลีเนื้อเหนียวสำหรับทำขนมปัง 150 กรัม น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ ครึ่งช้อนชา ดรายยีสต์ 1 ช้อนชา นมสด 90 มิลลิลิตร ไข่ไก่ 1 ฟอง เนย 10 กรัม ถั่วแดงกวนน้ำตาล 120 กรัม  แป้งสาลีอเนกประสงค์สำหรับโรยกันติดมือ ปริมาณพอสมควร วิธีทำ แรกสุด ใส่แป้งสาลีเนื้อเหนียวสำหรับทำขนมปัง 150 กรัมลงในอ่าง ใส่น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะและเกลือครึ่งช้อนชาลงไป ใช้ช้อนคนให้เข้ากัน เตรียมอ่างอีกใบหนึ่งแล้วใส่นมสด 90 มิลลิลิตรลงไป จากนั้นเติมดรายยีสต์ 1 ช้อนชาลงไป คนให้เข้ากัน ตีไข่ 1 ฟองให้กระจายตัวเข้ากันดี ใส่ไข่ที่ตีแล้วนี้ 1 ช้อนโต๊ะลงไปในส่วนผสมนมกับดรายยีสต์ ใส่ส่วนผสมนี้ลงไปในอ่างแป้ง ใช้ไม้พายค

โอฉะสึเกะ (Ochazuke)

รูปภาพ
โอฉะสึเกะ (Ochazuke)   โอฉะสึเกะ (Ochazuke) หรือข้าวแช่ญี่ปุ่น เป็นอาหารพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายกับข้าวแช่ของไทย มีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน ในช่วงแรกนิยมใช้น้ำร้อนธรรมดาเทผสมกับข้าวสวย ต่อมาในยุคเอโดะก็ได้เปลี่ยนมาเป็นน้ำชาแทน และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ก็ได้มีการวางจำหน่ายโอฉะสึเกะสำเร็จรูปและเป็นที่นิยมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัตถุดิบ ปลาแซลมอนหมักเกลือ   1 ชิ้น  แผ่นสาหร่ายทะเลหรือโนริ  1 แผ่น ข้าวสวย   300 กรัม น้ำชาเขียว   2 ถ้วย วิธีทำ ทอดปลาแซลมอนหมักเกลือในกระทะไม่ใส่น้ำมัน ทอดทั้งสองด้านให้เหลืองได้ที่ สุกดีแ ล้วให้แกะก้างและดึงหนังปลาทิ้ง ขยี้เนื้อปลาออกหยาบ ๆ ด้วยส้อมหรือตะเกียบ  ใช้กรรไกรตัดแผ่นโนะริออกเป็นเส้น ๆ กว้าง 3 เซนติเมตร จากนั้นวางซ้อนกันและตัดให้เป็นเส้นละเอียดขึ้น ชงชาเขียวปริมาณ 2 ถ้วย ตักข้าวสวยใส่ถ้วยข้าว วางเนื้อปลาแซลมอนและราดด้วยน้ำชาเขียวร้อน ๆ โรยหน้าด้วยโนะริ